หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ห้องพักครู

จิตสาธารณะ (Public Mind)
ความหมาย
จิตสาธารณะหรือสำนึกสาธารณะตามความเห็นของ ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. CMU. ได้ให้ความหมายไว้ว่า
จิตสาธารณะหรือสำนึกสาธารณะคือการมีจิตสำนึก (มโนสำนึก) ผูเขียนจึง ตั้งใจว่าจะนำมาถ่ายทอด ผ่านคำอีกคำที่น่าสนใจคือ สำนึกสาธารณะ (public mind) ซึ่งเป็นสำนึกที่ควรจะต้องมีในตัว ข้าราชการไทยทุกคน สำนึกที่จะกล่าวถึงประกอบด้วย P+U+B+L+I+C= Public= สาธารณะ 1. Professional ทำงานแบบมืออาชีพ ข้าราชการที่คิดใหม่ ทำใหม่จะต้องเป็นข้าราชการอาชีพ (profession) รู้ลึก ในหน้าที่ๆ รับผิดชอบ รู้รอบในงานที่เกี่ยวข้อง การเป็นเพียงอาชีพข้าราชการ ไม่เพียงพอ ต้องเป็นข้าราชการอาชีพให้ได้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หาความรู้ใหม่เสมอ 2. Unity เอกภาพ ค่านิยมใหม่ต้องเป็นไปในทิศทางของความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่กลัวกันได้หน้า หรืออิจฉาริษยา กัน ควรจะฝึกการทำงานเป็นทีม เพราะการที่คนในองค์กรมีเอกภาพ จะช่วยให้การขับเคลื่อนภาระงานเพื่อมวลประชา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีหลายองค์กรที่คนในองค์กรกลัวกันได้ดี เลยไม่มีใครทำอะไร ประชาชนก็ไม่ได้อะไรด้วย แต่ในความเป็นเอกภาพก็ยอมให้มีความแตกต่างได้ แต่อย่าแตกแยก 3. Believe ความเชื่อ ข้าราชการจะต้องทำงานด้วยความเชื่อ เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วยึดให้มั่น ถ้าข้าราชการขาดแล้วซึ่งความเชื่อ การทำงานก็จะขาดพลัง 4. Locally ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการยุคใหม่จะต้องเป็นผู้ที่เชื่อและศรัธทาในความเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ของภูมิปัญญาไทย ลอความเชื่อทันสมัยนิยมลง (Modernization) Local wisdom ในด้านต่างๆ จะนำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเข้ากับบริบทของสังคมไทย ข้าราชการไทย ต้องเลิกดูถูกภมิปัญญาของคนในระดับรากหญ้า แล้ว หันไปสู่วิถีของการเรียนรู้ร่วมกัน เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในชุมชน 5. Integrity ความซื่อสัตย์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องยึดเอาคาวมซื่อสัตย์เป็นที่ตั้ง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม คิดดี ทำดี เพื่อชาติ งานทุกชิ้นจะต้องตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส 6. Creative สร้างสรรค์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องคิดและทำงานที่สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม (innovation) ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคม ต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องมีความเป็นพลวัต ทั้งนี้ก็เพื่อประชาชนและประเทศชาติ ถ้าจิตสาธารณะที่ผู้เขียนนำเสนอ เป็นจิตที่เกิดแก่ข้าราชการไทยในภาพรวมเชื่อแน่ว่า ประชาชน จะได้รับแต่สิ่ง ที่ดีจากราชการ ระบบโดยภาพรวมก็จะเข้มแข็ง สังคมไทยก็จะน่าอยู่


สรุปแล้วความหมายจิตสาธารณะมีความหมายดังนี้ ผู้ที่มีจิตใจเป็นกุศลตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจิตที่ไม่ฝักไฝ่ตนเองคิดให้เป็นส่วนรวมเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตน
ความสำคัญ
ในปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มุ่งสร้างเครื่องอำนวยความสะดวกสบาย จนทำให้คนและสังคมมีค่านิยมในการบริโภคอย่างบ้าคลั่ง ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นโดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนขาดแคลน ทำให้คนสังคมมีความเห็นแก่ตัวมุ่งแสวงหาแต่ประโยชน์ที่เป็นส่วนตัว ขาดความเมตตากรุณาความความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันซึ่งหมายรวมถึงการขาดคุณธรรมนั่นเอง
จากสภาพสังคมที่มีแนวโน้มว่าคนในสังคมนับวันแต่จะเห็นแก่ตัว จิตใจเสื่อมโทรม ขาดคุณธรรมมุ่งแสวงหาประโยชน์ตน คนเราทุกคนจึงต้องหันมาทบทวนศึกษาปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันให้ถ่องแท้ เราต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในฐานะมนุษย์คือสัตว์สังคม จิตสาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากในอันที่จะทำให้เกิดมีอยู่ในทุกๆคน ในอันที่จะจรรโลงโลกให้บังเกิดความผาสุกอยู่จนตราบนิรันกาล
ปรัชญาที่สอดคล้องกับ จิตสาธารณะ (Public Mind)
หลักปรัชญาที่สอดคล้องกับ จิตสาธารณะ (Public Mind) ที่เห็นได้ชัดเจนและสอดคล้องที่สุดที่ปรากฏในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือหลักของสังคหะวัตถุธรรม และปรากฏในชาดกพระเวสสันดร
สังคหวัตถุธรรมโดย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
การให้ทาน การพูดจาไพเราะ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ในโลกนี้ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมทั้งหลายนั้น ตามควร คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัจธรรมที่ทุกคนควรมาพิสูจน์ ผู้ที่ปฏิบัติตามย่อมสามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยตนเอง และทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์ เข้าถึงความสุขและความบริสุทธิ์ภายในได้จริง ธรรมะของพระพุทธองค์เป็นความรู้อันบริสุทธิ์ที่กลั่นออกมาจากกลางพระธรรมกายที่พระองค์ได้เข้าถึง ด้วยวิธีการทำใจให้หยุดนิ่งอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เป็นธรรมโอสถขนานเอก ที่สามารถเยียวยารักษาจิตใจของมวลมนุษยชาติ ให้หลุดพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เพราะเมื่อใจปราศจากสิ่งเหล่านี้ ใจย่อมสะอาดบริสุทธิ์ มีอานุภาพ เป็นอิสระอย่างแท้จริง และจะเกิดมหากรุณา มีแต่ความรักความเมตตาปรารถนาดีต่อกันเสมอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สังคหวัตถุสูตร ว่า



ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ อตฺถจริยา จ ยา อิธ
สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ
การให้ทาน การพูดจาไพเราะ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ในโลกนี้
ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมทั้งหลายนั้นๆ ตามควร การอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาเป็นที่รักของคนรอบข้าง เป็นที่ยอมรับนับถือของทุกๆ คน และปรารถนาที่จะได้ยินได้ฟังคำยกย่องสรรเสริญ มากกว่าเสียงนินทาว่าร้าย พระพุทธองค์ได้สอนวิธีที่จะทำตนให้เป็นที่รักของสังคมว่า จะต้องรู้จักการให้ ธรรมดาแล้วทุกชีวิตต่างดำรงอยู่ได้ด้วยการให้ หากมนุษย์ทุกคนในโลกรู้จักให้ทาน เสียสละแบ่งปัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่พยาบาทปองร้ายกัน โลกนี้ย่อมจะเกิดความสงบสุขอย่างแน่นอน นอกจากการให้แล้ว ต้องรู้จักพูดจาปราศรัย หัดพูดจาให้ไพเราะนุ่มนวลน่าฟัง ที่เรียกว่า ปิยวาจา คือ คำพูดที่พูดแล้วเป็นที่รัก ฟังแล้วเกิดกำลังใจ ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนอยากทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป ไม่พูดจาส่อเสียด ก่อให้เกิดความแตกแยก พูดแต่คำที่จะทำให้เกิดความสามัคคี เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ประสานใจทุกๆ ดวงให้เป็นหนึ่งเดียว เหมือนน้ำฝนประสานดินเหนียวที่แตกระแหงให้เป็นผืนแผ่นเดียวกัน
*ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี ท่านหัตถกะ ได้ชวนพวกพ้องบริวารประมาณ ๕๐๐ คน ไปเข้าเฝ้าและสนทนาปราศรัยกับพระพุทธองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า หัตถกะ ท่านมีมิตรสหายมากมาย ได้ยินว่าทุกๆ คน เป็นที่รักของท่าน และท่านเองก็เป็นที่รักของทุกๆ คน ท่านสงเคราะห์พวกพ้องของท่านอย่างไร ท่านหัตถกะทูลตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ได้สงเคราะห์เพื่อนๆ และบริวารมากมายด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
ถ้ารู้ว่าผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการให้ทาน ข้าพระองค์จะสงเคราะห์ ด้วยการให้ทาน
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยวาจาที่อ่อนหวาน ข้าพระองค์จะสงเคราะห์ด้วยวาจาที่อ่อนหวาน
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้าพระองค์สงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการวางตัวให้เหมาะสม ข้าพระองค์ก็จะสงเคราะห์ด้วยการวางตัวให้เหมาะสม พระเจ้าข้า พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญหัตถกะว่า ท่านทำดีแล้ว สมแล้วที่เป็นสาวกของเรา เพราะเมื่อฟังธรรมก็นำไปพิจารณาไตร่ตรอง และลงมือปฏิบัติตาม ปฏิบัติแล้วก็ได้ผลสมควรแก่การปฏิบัติ พระพุทธองค์ตรัสสอนต่อไปว่า ผู้ที่เป็นใหญ่ เป็นที่ยอมรับของมหาชนในสมัยก่อน ล้วนปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุธรรมทั้ง ๔ ประการ แม้ในยุคปัจจุบัน ผู้นำก็ต้องสงเคราะห์ บริวารด้วยสังคหวัตถุ ๔ และถึงในอนาคต ถ้าผู้นำจะให้เป็นที่รัก ก็ต้องสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แหละ จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับพระภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกะนี้เป็นผู้มีคุณธรรมมากมาย แต่ก็ไม่แสดงให้ใครรู้ว่าเป็นผู้มีธรรมะประจำใจ สามารถวางตัวได้เสมอต้นเสมอปลาย พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านหัตถกะ ให้เป็นอุบาสกสาวกผู้เลิศในด้านการสงเคราะห์พวกพ้องบริวาร แม้พระบรมศาสดาเองก็ทรงทำเช่นนั้นเหมือนกัน คือ ทรงบำเพ็ญ สังคหวัตถุธรรมได้อย่างยอดเยี่ยม และบำเพ็ญอย่างสม่ำเสมอตลอดมา จนกระทั่งบารมีทั้ง ๓๐ ทัศเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ทำให้มีสาวกพุทธบริษัทมากมาย ทั้งที่เป็นเทวดา พรหม และอรูปพรหม อีกนับไม่ถ้วน พระพุทธองค์ได้กล่าวถึงอานิสงส์ที่เกิดจากการปฏิบัติสังคหวัตถุธรรมว่า บุญที่เกิดจากการให้ทานเป็นประจำ จะทำให้ได้ลักษณะมหาบุรุษ คือ มีฝ่ามือและฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม และมีลายเป็นตาข่ายงดงาม น่าดูน่าชมมาก และบุญที่เกิดจากการใช้ปิยวาจานั้น จะทำให้มีเสียงดุจท้าวมหาพรหม ที่ชัดเจน แจ่มใส ไพเราะ ไม่แหบเครือ ก้องกังวาน สามารถเหนี่ยวรั้งใจผู้ฟัง ให้ดื่มด่ำไปกับน้ำเสียงนั้น และหากเมื่อใดได้ฟังพระธรรมเทศนา ใจก็จะน้อมนำเข้าสู่กระแสแห่งธรรมได้โดยง่าย และจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ภายใน หลังจากฟังธรรมจบนั้นเอง
เพราะฉะนั้น หากใครปรารถนาอานิสงส์เช่นนี้ ให้หมั่นประกอบเหตุ คือ สังคหวัตถุ ๔ คือ หมั่นทำทาน มีปิยวาจา อัตถจริยาและสมานัตตตา รวมทั้งการปฏิบัติธรรมควบคู่กันไปด้วย ทำทั้งหยาบและละเอียดให้สมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง ยิ่งถ้าเราหมั่นปฏิบัติธรรม ฝึกใจให้หยุดนิ่ง จะทำให้สิ่งเหล่านี้ยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น เมื่อใจละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ คุณธรรมเหล่านี้ก็จะได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น จนกระทั่งนำเราไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตได้ คือสามารถขจัดกิเลสอาสวะให้หลุดร่อนออกจากใจ ได้เข้าถึงพระธรรมกายที่ละเอียด บริสุทธิ์ที่สุด นี่คือเป้าหมายชีวิต ซึ่งเราจะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงให้ได้กันทุกๆ คน
โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ
โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการได้แก่ โรงเรียนประชาสามัคคี ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
รางวัลที่ได้รับ
โรงเรียนชนะเลิศระดับจังหวัดด้านการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปี 2552